วิธีการสนทนาออนไลน์หน้าเว็บ

วิธีการสนทนาออนไลน์หน้าเว็บ
วิธีการสนทนาออนไลน์บนหน้าเว็บ
1.คลิ๊กที่ “เริ่มการสนทนา”
2.พิมพ์ชื่อของคุณ
3.พิมพ์ตัวอักษรที่คุณเห็นในภาพ ถ้าไม่ชัดให้กดที่ลูกศร
4.คลิ๊กที่ส่ง
5.เริ่มต้นการสนทนาออนไลน์

สนทนาแบบออนไลน์ (IRC หรือ Chat)

สนทนาแบบออนไลน์ (IRC หรือ Chat)

ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนลายน ์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนากันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัย Protocol ช่วยในการติดต่ออีก Protocol นึงซึ่งมีชื่อว่า IRC(Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็น protocol อีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอเน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ

  1. มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร ์คือคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อลองรับ User หลายคน
  2. เครื่องของเราจะทำหน้ามี่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่ เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอเน็ตได้แบบธรรมดาโดย ที่ไม่ต้องารทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้

 

พื้นฐานการทำงานของ IRC

เมื่อเครื่องของเราสามรถติดต่อกับ Server ได้แล้ว server นั้นจะมีการแบ่งช่องสนทนาออกเป็นกลุ่มๆ(Channel) หรืออาจจะเรียกว่า ห้องสนทนาก็ได้โดยเมื่อเราเข้าสู่ server แล้วเราจะมีชื่อเรียกเป็นของตัวเอง (Nickname) เมื่อเราพิมข้อความลงไปข้อความนั้นก็จะส่งผ่าน server และไปปรากฏยังเครื่อง Client ของสมาชิกแต่ละคนในห้องนั้น ไม่ใช่แค่ข้อความสั้นๆอย่างเดียวผู้ใช้ IRC ยังสามารถที่จะส่งไฟล์ภาพ เสียง วีดีโอ หรือไฟล์ทุกชนิดกันได้โดยตรง ในปัจจุบัน การเล่น IRC ไม่ได้มีแค่ข้อความธรรมเท่านั้น ยังมีการสนทนา ที่ใช้ protocol IRC เช่นเดียวกันอีกแต่ว่า เราสามารถที่จะสมมุติรูปร่างหน้าตา เสื้อผ้า ทำหน้าตายิ้มแย้ม โกรธ โดยอาจจำลองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือน VR (Virtual Realiity)ซึ่งจะเป็น ภาพ 3 มิติ เราสามรถที่จะเดินเข้าห้อง ออกจากห้อง จับมือ กับผู้ใช้คนอื่นได้ และอื่นๆ อีกมากมายได้ ซึ่งในปัจจบันก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจาก IRC เป็นกิจกรรมที่เปิดกว้างกล่าวคือเป็นใครก็ได้ที่จะเข้ามาร่วมก็ได้รวมทั้งไม่มีขีดจำกัดหรือกฏ เกณฑ์ใดๆมากมาย นัก เพราะฉนั้น IRC จึงเป็นศูนย์รวมที่สามารถรวบรวมผู้คนหลากหลายไม่ว่าจะเป็นวัย อาชีพ ประสบการณ์ต่างๆมาไว้ได้อย่างกลมกลืน แต่ว่าแต่ละคนต่างก็มีความสนใจในการที่จะเข้าช่องสนทนาต่างๆกันไป

 รูปแบบการสนทนาแบบออนไลน์

 

  • Netmeeting

เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยเสียง จากคอมพิวเตอร์ ซึ่งคล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่อย่างใด และโปรแกรมในลักษณะนี้ ยังเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ เครื่องรับภาพ digital ดังนั้นคนที่มีโปรแกรมนี้จะคุยกัน และเห็นภาพของแต่ละฝ่าย จึงทำให้การติดต่อมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม

บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อแบบนี้คือเรื่องของความเร็ว เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรืออาจขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อ internet ไม่เร็วพอ และจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะเพิ่มการรับ-ส่งภาพ แบบ VDO สำหรับเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยความเร็วต่ำ

 

  • ICQ

บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยม เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะผู้ที่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง และมีโปรแกรม ICQ อยู่ในเครื่อง จะสามารถติดต่อกับเพื่อน ที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำการตรวจสอบไว้ ว่า Online อยู่หรือไม่ เปรียบเสมือนการมี pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว

ได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเสริมอีกมากมาย ให้ ICQ สามารถทำงานได้หลายหลายมากขึ้น และยิ่งแพร่กระจายได้เร็ว ในกลุ่มหนุ่มสาว ที่ต้องการเพิ่ม เพราะจะแสดงสถานะของ เครื่องเพื่อน เมื่อเปิดคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถติดต่อได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องโทรไปถามบ่อย ๆ ว่าเปิดคอมพิวเตอร์หรือยัง เป็นต้น

บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็นโปรแกรมที่ download ได้ฟรี

 

  • IRC

บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถคุยกับใครก็ได้ ที่ใช้โปรแกรม PIRC การคุยกันจะใช้ผ่านแป้นพิมพ์เป็นสำคัญ โดยไม่ต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบ ต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป อย่างจริงจัง เพราะไม่มีการควบคุมจากศูนย์ที่ชัดเจน ทำให้ทุกคนมีอิสระที่จะคิด จะส่งข้อมูลออกไป ได้ทุกชาติ ทุกภาษา

ใน IRC ใด ๆ มักจะมีการแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยมีชื่อห้องบอกว่า ในห้องนั้นจะคุยกันเรื่องอะไร เช่น “วิธีแก้เหงา” หากใครต้องการคุยถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือหลาย ๆ ห้องได้ และแสดงความเห็นอะไรออกไปก็ได้ และยังสามารถเลือกคุยกับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะคุยให้ทุกคน ที่เปิดหัวข้อนี้รับทราบก็ได้ เมื่อคุยกันถูกคอก็สามารถ ที่จะนัดพบกันตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือจะนัดคุยกันในคอมพิวเตอร์ ในครั้งต่อไป ในห้องที่กำหนดขึ้นก็ได้ จึงทำให้ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก

บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็น Shareware หากผู้ใช้พอใจ สามารถที่จะลงทะเบียน เพื่อจ่ายเงิน $20 ได้

การสนทนาออนไลน์ (online chatting)

การสนทนาออนไลน์ (online chatting)

การสนทนาออนไลน์ หรือ Internet Relay Chat (IRC) หมายถึง โปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อการสนทนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความผ่านคีย์บอร์ดขึ้นสู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ซึ่งจะมีชื่อของผู้เล่นและข้อความแสดงขึ้นในหน้าต่างภายในจอคอมพิวเตอร์ของโปรแกรมสนทนา ให้คนอื่น ๆ ที่ร่วมสนทนาในห้องสนทนา (chat room) นั้น ๆ ได้เห็นว่า ผู้เล่นสนทนาคนอื่น ๆ สามารถเข้าสนทนาได้ (อิสริยา ตัณฑะพานิชกุล และธิติมา ทองทับ, 2550)

บริการสนทนาออนไลน์บนอินเทอร์เน็ต เป็นการสื่อสารผ่านข้อความ เสียง และรูปภาพจาก Webcam โดยมีการโต้ตอบกันอย่างทันทีทันใด (real-time) มีลักษณะเดียวกันกับการสนทนาโดยโทรศัพท์ ต่างกันตรงที่ผู้สนทนาจะสื่อสารผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ ในขณะเดียวกันก็สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียงให้กันโดยมีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อกลางในการส่งข้อมูล (อิสริยา ตัณฑะพานิชกุล และธิติมา ทองทับ, 2550)

การสนทนาออนไลน์มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลว่าจะใช้งาน ข้อดีที่คือการได้รู้จักผู้คนมากขึ้น ได้แนวความคิดหลากหลาย มองโลกได้กว้างขึ้นโดยที่เป็นการลดช่องว่างด้านเวลา และสถานที่ ทำให้ได้รับรู้ประสบการณ์ของผู้อื่นพร้อมกับเผยแพร่ประสบการณ์ของตัวเองที่เป็นประโยชน์ เผยแพร่และแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ข่าวสารต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์  ส่วนข้อเสียเป็นอาการติดสนทนาออนไลน์ไม่สนใจกิจกรรมอื่นนอกจากสนทนาออนไลน์ (โปรแกรมสนทนาออนไลน์, 2551)

รูปแบบการสนทนาออนไลน์ ในปัจจุบันมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มสีสันการสนทนามากมาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความแตกต่าง ความน่าสนใจ ทำให้เข้ามาสนทนาพูดคุย สามารถแบ่งรูปแบบการสนทนาออนไลน์อย่างกว้าง ๆ ได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกัน คือ Web Chat, Web Board และโปรแกรมสนทนาออนไลน์ Web Chat เป็นการสนทนาโดยผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง ซึ่งจะทำให้เกิดกลุ่มสนทนาแล้วทุกคนที่ติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์นั้นสามารถได้รับข้อความนั้นได้พร้อม ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าห้องสนทนา (chat room) เป็นการเข้าไปคุยกันในเว็บที่จัดให้บริการ เป็นการคุยตอบโต้ระหว่างกันผ่านเซิร์ฟเวอร์ โดยใช้บราวเซอร์ปกติ รูปแบบ และบรรยากาศของห้องคุยก็จะขึ้นอยู่กับผู้สร้างสรรค์เว็บบริการนั้น ๆ ว่าให้ความน่าสนใจมากน้อยเพียงใด ซึ่งแต่ละห้องจะมีคนพูดคุยพร้อม ๆ กันหลายคน

วิธีการสนทนาแบบนี้เทคนิคสามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่นอาศัยโปรแกรมบนแต่ละเครื่องของผู้ใช้ เช่น PIRCH คือ โปรแกรมสนทนาออนไลน์ ที่ไม่ต้องสมัครสมาชิกก็สามารถเข้าใช้งานได้ แค่เพียงกรอก Nickname เพื่อเป็น Account (บัญชีสิทธิหรือ เวลาในการใช้งานโปรแกรม) เพื่อเข้าสู่ห้องสนทนาของโปรแกรม (ญาณพล ยั่งยืน และศรีดา ตันทะอธิพานิช, 2546)  mIRC คือ โปรแกรมสนทนาออนไลน์ รุ่นเก่าสมัยวินโดว์เวอร์ชั่น 3.11 การสนทนาจะต้องติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์กลางที่มักทำงานในระบบ IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งเป็นมาตรฐานของอินเทอร์เน็ตมาแต่เดิม หรือบางแบบก็ใช้การทำงานผ่านเซิร์ฟเวอร์มาทำให้เกิด Chat Room บนเว็บเพ็จของผู้ที่เข้าไปใช้บริการ โดยไม่ได้มีการใช้โปรแกรมอยู่บนเครื่องของผู้เล่น เรียกว่า เป็น Web Chat

การสนทนาโดยตรงระหว่างผู้ใช้อินเทอร์เน็ต วิธีนี้ขณะสนทนาจะไม่ต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์ (แต่ตอนเริ่มต้นจะต้องผ่านเซิร์ฟเวอร์) เป็นการรับส่งสารแบบทันทีทันใดหรือ Instant Messaging ตัวอย่างเช่น โปรแกรม ICQ, Yahoo Messenger, MSN Messenger  ซึ่งรูปแบบนี้โปรแกรมจะออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะ มีลูกเล่นที่อำนวยความสะดวก เพิ่มสีสัน เป็นกันเองในการสนทนาแบบเป็นส่วนตัว ข้อดีของการสนทนาแบบนี้ คือ ไม่ต้องพึ่งพาเซิร์ฟเวอร์ตลอดเวลา ถึงจะมีผู้ใช้พร้อม ๆ กันเป็นจำนวนมาก เครื่องก็จะไม่ช้า

การสนทนากันโดยใช้โปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกในการคุยโดยเฉพาะ เป็นการสนทนาที่มีเซิร์ฟเวอร์บอกตำแหน่งให้โปรแกรมของผู้สนทนาสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ตัวอย่างโปรแกรมก็เช่น PIRCH, mIRC, ICQ, MSN เป็นต้น (ณาตยา ฉาบนาค, 2547)

ลักษณะการทำงานของโปรแกรมประเภทนี้ จะเริ่มใช้โดยมีการดาวน์โหลดโปรแกรมมาติดตั้งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของตนพร้อมทั้งลงทะเบียน Register ไว้กับเซิร์ฟเวอร์กลาง โดยจะได้หมายเลขผู้ใช้หรือ UIN (User Identification Number) จากนั้นเมื่อใดที่ผู้ใช้ออนไลน์จะมีโปรแกรมตรวจสอบและมี IP Address ไปให้เซิร์ฟเวอร์ทราบ และถ้าหากใครต้องการติดต่อด้วยก็จะสอบถาม IP Address ได้จากเซิร์ฟเวอร์กลาง จากนั้นก็เป็นการติดต่อกันระหว่างสองเครื่อง โดยไม่ผ่านเซิร์ฟเวอร์กลางอีก ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อกันได้โดยตรง ซึ่งรวดเร็วและทันใจกว่าการสนทนาแบบอื่น (อิสริยา ตัณฑะพานิชกุล และธิติมา ทองทับ, 2550)

Web Board หรือกระดานสนทนาเป็นการฝากข้อความหรือคำถามไว้บนเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมักจะเป็นคำถามที่ต้องการข้อมูลที่ลึกกว่าการคุยโต้ตอบกันในทันที การสนทนาแบบนี้มีเวลาในการคิดกลั่นกรองข้อความที่จะโต้ตอบ  นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ระดมความรู้ ความคิดเห็น และแจ้งหรือประกาศข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ

เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะมีระบบป้องกันข้อความที่ไม่เหมาะสม การลบกระทู้หรือ ข้อความที่ไม่ประสงค์ดี ส่วนผู้ที่โพสท์ส่วนใหญ่ทุกเว็บก็จะให้ลักษณะสมัครสมาชิก  แต่ถ้าไม่สมัครสมาชิก ทางเว็บไซต์ก็จะสามารถตรวจสอบข้อความที่โพสท์ ลงไปได้ว่าโพสท์ไปจากที่ไหน โดยทุกครั้งที่พิมพ์ข้อความ จะแสดงหมายเลข IP ปรากฏอยู่บนเว็บโพสท์หรืออาจไม่ปรากฏในเว็บเพจก็จริง แต่ทางเว็บไซต์จะมีข้อมูลบันทึกไว้ การใช้งาน Web Board ก่อให้เกิดทั้งประโยชน์และโทษดังต่อไปนี้

ประโยชน์ เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้เกิดปัญหาสามารถปรึกษากลุ่มเพื่อน เมื่อมีผู้เข้ามาพบมาอ่านและอยากใส่ข้อความโต้ตอบก็สามารถพิมพ์ลงไปได้ โดยจะมีการเก็บเอาไว้ภายใต้หัวข้อเดียวกันบนเซิร์ฟเวอร์ในระยะเวลาหนึ่ง

โทษ ของเว็บบอร์ดจะเป็นข้อความที่ให้ร้าย ใส่ร้าย ประสงค์ร้ายกับผู้อื่น หรือสิ่งนั้น ๆ ผู้อ่านจะต้องใช้วิจารณญาณในการอ่านข้อความที่ผู้อื่นโพสท์มา (สุธีร์ นวกุล, 2550)

การสนทนาออนไลน์ในแบบ Web Chat และ Web Board มีการทำงานพื้นฐานแบบเดียวกันนั่นคือ เป็นการสนทนากันโดยผ่านเซิร์ฟเวอร์กลาง ไม่ได้ติดต่อกันเองระหว่างเครื่องคู่สนทนา เมื่อคุณพิมพ์ข้อความส่งไป ข้อความนั้นจะถูกส่งไปเก็บยังเซิร์ฟเวอร์กลางและแสดงผลข้อความนั้นส่งกลับมาในภาพรวมทั้งหมด รวมถึงส่งต่อไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ออนไลน์อยู่กับเซิร์ฟเวอร์นั้นด้วย ทำให้ทุกคนสามารถมองเห็นข้อความต่าง ๆ ที่เก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์  โดยใช้โปรแกรมบราวเซอร์เป็นตัวช่วยในการดึงและส่งข้อมูล ความรวดเร็วในการโต้ตอบและแสดงผลก็จะขึ้นอยู่กับความเร็วในการติดต่อกันระหว่างเครื่องของผู้ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ จำนวนผู้ที่เข้าติดต่อกับเซิร์ฟเวอร์กลางในขณะนั้น ๆ ก็มีผลต่อความเร็วในการโต้ตอบ (ศิริพร ปัญญาเมธีกุล, 2548)

บรรณานุกรม
1. เกมจิราวรรณ วรรณวินัย. (2551, หน้า17-20 ). ผลกระทบการสนทนาออนไลน์ของนักเรียน, ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
2. อิสริยา ตัณฑะพานิชกุล และธิติมา ทองทับ. (2550). Window live messenger MSN 8.5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โปรวิชั่น.
3. โปรแกรมสนทนาออนไลน์. (2551). Oppy Club by Loxley. ค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2551, จาก http://www.happyoppy.com
4. ณาตยา  ฉาบนาค. (2547). คอมพิวเตอร์เบื้องต้น เล่ม 5 ระบบเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เอส.พี.ซี. พริ้นติ้ง.
5. สุธีร์ นวกุล. (2550). ครบเครื่องทุกเรื่อง: อินเทอร์เน็ต & อีเมลล์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น.
6. ศิริพร ปัญญาเมธีกุล. (2548). ภาษาในการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต. มนุษยศาสตร์ปริทัศน์, 27, 65-69.
7. ญาณพล  ยั่งยืน และศรีดา  ตันทะอธิพานิช. (2546). อินเทอร์เน็ตเข้าใจง่าย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เอทีเอ็น โปรดักชั่น.

ตะวันฉาย:
ภาษาที่ใช้ในการสนทนาออนไลน์
การศึกษาภาษาในห้องสนทนาออนไลน์ โดยการเก็บข้อมูลจากเว็บไซต์พันธุ์ทิพย์ เว็บไซต์หรรษา และโปรแกรมสนทนา IRC ผลของการศึกษาจะพบภาษาที่แตกต่างจากชีวิตประจำวัน มีการใช้ภาษาพูดในการเขียนข้อความ การใช้สัญลักษณ์แสดงอารมณ์ กิริยาต่าง ๆ (ศิริพร ปัญญาเมธีกุล, 2548)

ลักษณะการสื่อสารในห้องสนทนา
การสนทนาออนไลน์ผ่านห้องสนทนา (chat room) เป็นการสนทนาที่เป็นกันเอง จุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมิตรภาพ ความสนุกสนานภาษาที่ใช้ไม่ค่อยเป็นภาษาที่เป็นทางการหัวข้อที่ใช้ในการสนทนาคือการถาม-ตอบข้อมูลพื้นฐานของแต่ละบุคคล และมีการสร้างมิตรภาพกับเพศที่ตนสนใจ (ศิริพร ปัญญาเมธีกุล, 2548)

รูปแบบ ในการสนทนามีการสนทนาแบบเพียงคนเดียว (one to one) คนหนึ่งสนทนากันหลายคน (one to many) คนหลายคนสนทนากับคนหลายคน (many to many) (ศิริพร ปัญญาเมธีกุล, 2548)

การสื่อสารบนห้องสนทนาออนไลน์เป็นภาษาพูด มีการใช้รูปแสดงอารมณ์ กริยาท่าทาง (emoticon) แทนการพิมพ์คำที่แสดงอาการ อารมณ์ความรู้สึก (ธิติศักดิ์ หวังเกษม, 2550)

ภาษาที่ใช้ในการสนทนาออนไลน์ สามารถแยกรูปแบบได้ดังนี้ (ศิริพร ปัญญาเมธีกุล, 2548, หน้า 65)
1.การใช้ภาษาพูดในภาษาเขียน ผู้สนทนาส่วนใหญ่จะพิมพ์ข้อความเป็นภาษาพูด เพื่อต้องการให้การสนทนาในห้องออนไลน์นั้นเหมือนกับการเผชิญหน้ากับในการสื่อสาร จึงพิมพ์โดยการเลียนแบบเสียงพูดมากที่สุด เช่น การซ้ำพยัญชนะ หรือสระ เพื่อแสดงการลากเสียง
2.การตัดคำให้สั้น การสนทนามีการตัดคำให้สั้นลงเพื่อให้พิมพ์ได้เร็วขึ้น เช่น สวัสดี กลายเป็น ดี หรือ D แทน หรือจะเป็นการตัดสระหรือพยัญชนะบางตัว เช่น เดี๋ยว เป็น เด๋ว เพื่อพิมพ์ได้เร็วขึ้นและน่าสนใจ

สัญลักษณ์รูปภาพแทนอารมณ์ความรู้สึก ข้อจำกัดของการสนทนาออนไลน์คือ ไม่สามารถแสดงอารมณ์ เหมือนกับการสนทนาแบบเผชิญหน้า จึงมีการสร้างสิ่งทดแทนโดยการเครื่องหมายแอสกี (ASCII Art) ในการแสดงอารมณ์  การใช้ Emoticon  เพื่อแสดงอารมณ์และลักษณะท่าทางหรือการพิมพ์ข้อความที่แสดงถึงลักษณะท่าทาง ดังแสดงในตาราง

ลักษณะรูปแบบ และภาษาที่ใช้ในการสนทนาออนไลน์นั้นจะเกิดผลกระทบทางด้านการใช้ภาษาที่ไม่ถูกต้องใช้ภาษาพูดเป็นภาษาเขียนทำให้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเกิดผลกระทบและกลายเป็นวัฒนธรรมในการสื่อสารที่เป็นการสร้างเอกลักษณ์ภายในกลุ่มคนออนไลน์ไม่ว่าเป็นการตัดคำให้สั้นลง การลดหรือการเพิ่มสระและพยัญชนะเพื่อเป็นการดึงดูดหรือประหยัดเวลา ค่านิยมที่ไม่ถูกต้องแต่มีการใช้อย่างแพร่หลาย จากบทความจะเป็นการนำเสนอการสนทนาผ่านเซิร์ฟเวอร์  แต่การศึกษาของผู้วิจัยจะเป็นการสนทนาผ่านโปรแกรม MSN Messenger ถึงแม้รูปแบบการสนทนาจะต่างกัน  แต่ก็เป็นการสนทนาที่ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเหมือนกัน  ผู้วิจัยจึงนำมาเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาว่าจะมีลักษณะ รูปแบบ และภาษาที่เหมือนกันหรือมีความขัดแย้งกัน

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล

การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่


1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งสามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น

องค์ประกอบของการสื่อสาร

องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ 
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ 
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน 
2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร 
หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ 
จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

 

3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง 
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน 
ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้ 
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน 
6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ 
วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น

ข่ายการสื่อสารข้อมูล 
หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า 
ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)

องค์ประกอบพื้นฐาน

  1. หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
  2. ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
  3. หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย

  1. เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
  2. เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
  3. เพื่อลดเวลาการทำงาน
  4. เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
  5. เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
  6. เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

Dec 6, ’07 2:38 AM
สำหรับ ทุกคน

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส
(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ
ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสาร
ที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการ
สื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส
(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ
ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสาร
ที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการ
สื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส
(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ
ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสาร
ที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการ
สื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส
(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ
ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสาร
ที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการ
สื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

 

ความหมายและองค์ประกอบของการสื่อสาร

การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

กระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสาร ก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สี การเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส
(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
ประเภทต่าง ๆ หรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสาร เมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ
ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีต หรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้น และมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจ การตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ ทั้งนี้ข่าวสาร
ที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้ หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการ
สื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวน หรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร

คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี
4. มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุม รอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคน
11. รู้ขั้นตอนการทำงาน
12. มีมนุษยสัมพันธ์ดี

http://school.obec.go.th/takbai/information/index01.html

ก่อนหน้า: Long Live The King
ถัดไป: “ข้อคิดคำคม” ข้าราชการที่พึงประสงค์ื่

การสื่อสารข้อมูล

1. ความหมายของการสื่อสารข้อมูล

        การสื่อสารข้อมูล หมายถึง การโอนถ่าย (Transmission) ข้อมูลหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีตัวกลาง เช่น ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์สำหรับควบคุมการส่งและการไหลของข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง นอกจากนี้อาจจะมีผู้รับผิดชอบในการกำหนดกฎเกณฑ์ในการส่งหรือรับข้อมูลตามรูปแบบที่ต้องการ

2. องค์ประกอบพื้นฐานของระบบสื่อสารข้อมูล

        การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (Sender)

        ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ซึ่งได้แก่เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ซึ่งข้อมูลเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน

2. ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver)

        ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม ฯลฯ

3. โปรโตคอล (Protocol)

        โปรโตคอล คือ กฎระเบียบ หรือวิธีการใช้เป็นข้อกำหนดสำหรับการสื่อสาร เพื่อให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP, X.25, SDLC เป็นต้น

4. ซอฟต์แวร์ (Software)

        การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Novell’s NetWare UNIX Windows NT ฯลฯ

5. ข่าวสาร (Message)

        เป็นรายละเอียดซึ่งอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่จะส่งผ่านระบบการสื่อสาร ซึ่งมีหลายรูปแบบดังนี้

5.1 ข้อมูล (Data) เป็นรายละเอียดของสิ่งต่าง ๆ ซึ่งถูกสร้างและจัดเก็บด้วยคอมพิวเตอร์ มีรูปแบบแน่นอน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น ข้อมูลสามารถนับจำนวนได้และส่งผ่านระบบสื่อสารได้เร็ว

5.2 ข้อความ (Text) อยู่ในรูปของเอกสารหรือตัวอักขระ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ชัดเจนนับจำนวนได้คอนข้างยาก และมีความสามารถในการส่งปานกลาง

5.3 รูปภาพ (Image) เป็นข่าวสารที่อยู่ในรูปของภาพกราฟิกแบบต่าง ๆ ได้แก่ รูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ภาพวิดีโอ ซึ่งข้อมูลชนิดนี้จะต้องอาศัยสื่อสำหรับเก็บและใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก

5.4 เสียง (Voice) อยู่ในรูปของเสียงพูด เสียงดนตรี หรือเสียงอื่น ๆ ข้อมูลชนิดนี้จะกระจัดกระจาย ไม่สามารถวัดขนาดที่แน่นอนได้ การส่งจะทำได้ด้วยความเร็ว ค่อนข้างต่ำ

6. ตัวกลาง (Medium)

        เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางที่ทำหน้าที่นำข่าวสารในรูปแบบต่าง ๆ จากผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งต้นทางไปยังผู้รับหรืออุปกรณ์รับปลายทาง ซึ่งมีหลายรูปแบบได้แก่ สายไป ขดลวด สายเคเบิล สายไฟเบอร์ออฟติก ตัวกลางอาจจะอยู่ในรูปของคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น คลื่นไมโครเวฟ คลื่นดาวเทียม หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น


3. การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์สำหรับสื่อสารข้อมูล

        เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ต้นทางเข้ากับคอมพิวเตอร์ปลายทาง โดยใช้ตัวกลางหรือสื่อกลางสำหรับเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถทำได้หลายรูปแบบดังรูป

        การต่อแบบสายตรงตามรูปนั้นอาจจะต่อตรงโดยใช้ช่องต่อแบบขนานของเครื่อง ทั้ง 2 เครื่อง เพื่อใช้สำหรับโอนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องได้ หรืออาจจะต่อโดยใช้อินเทอร์เฟสคาร์ดใส่ไว้ในเครื่องสำหรับเป็นจุดต่อก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งานเป็นการเชื่อมต่อระยะไกลจากคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังปลายทาง โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์สาธารณะ


4. การส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Definition)

        การส่งสัญญาณข้อมูล หมายถึง การส่งข้อมูลหรือข่าวสารต่างๆ จากอุปกรณ์สำหรับส่งหรือผู้ส่ง ผ่านทางตัวกลางหรือสื่อกลางไปยังอุปกรณ์รับหรือผู้รับข้อมูลหรือข่าว ซึ่งข้อมูลหรือข่าวสารที่ส่งไปอาจจะอยู่ในรูปของสัญญาณเสียง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแสงก็ได้ โดยที่สื่อกลางหรือตัวกลางของสัญญาณนั้นแบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดที่สามารถกำหนดเส้นทางสัญญาณได้ เช่น สายเกลียวคู่ (Twisted paire) สายโทรศัพท์ สายโคแอกเชียล (Coaxial) สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ส่วนตัวกลางอีกชนิดหนึ่งนั้นไม่สามารถกำหนดเส้นทางของสัญญาณได้ เช่น สุญญากาศ น้ำ และ ชั้นบรรยากาศ เป็นต้น

แบบของการส่งสัญญาณข้อมูล

การส่งสัญญาณข้อมูล สามารถแบ่งได้เป็น 4 รูปแบบดังนี้

•  การส่งสัญญาณทางเดียว (One-Way Transmission หรือ Simplex)

        การส่งสัญญาณแบบนี้ในเวลาเดียวกันจะส่งได้เพียงทางเดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าตัวส่งจะมีสัญญาณช่องทางก็ตาม ซึ่งมักจะเรียกการส่งสัญญาณทางเดียวนี้ว่า ซิมเพล็กซ์ ผู้ส่งสัญญาณจะส่งได้ทางเดียว โดยที่ผู้รับจะไม่สามารถโต้ตอบได้ เช่น การส่งวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพโทรทัศน์

•  การส่งสัญญาณกึ่งทางคู่ (Half-Duplex หรือ Either-Way)

        การส่งสัญญาณแบบนี้เมื่อผู้ส่งได้ทำการส่งสัญญาณไปแล้ว ผู้รับก็จะรับสัญญาณนั้นหลังจากนั้นผู้รับก็สามารถปรับมาเป็นผู้ส่งสัญญาณแทน ส่วนผู้ส่งเดิมก็ปรับมาเป็นผู้รับแทนสลับกันได้ แต่ไม่สามารถส่งสัญญาณพร้อมกันในเวลาเดียวกันได้ จึงเรียกการส่งสัญญาณแบบนี้ว่า ฮาร์ฟดูเพล็กซ์ (Half Duplex หรือ HD) ได้แก่ วิทยุสนามที่ตำรวจใช้ เป็นต้น

•  การส่งสัญญาณทางคู่ (Full-Duplex หรือ Both way Transmission)

        การส่งสัญญาณแบบนี้สามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันทั้งสองทางในเวลาเดียวกัน เช่น การใช้โทรศัพท์ ผู้ใช้สามารถพูดสายโทรศัพท์ได้พร้อม ๆ กัน

5. มาตรฐานสากล (International Standards)

        เพื่อความเป็นระเบียบและความสะดวกของผู้ผลิตในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารแบบต่าง ๆ ขึ้นมา จึงได้มีการกำหนดมาตรฐานสากล สำหรับระบบติดต่อสื่อสารข้อมูลขึ้น ซึ่งประกอบด้วยโปรโตคอล และสถาปัตยกรรมโดยมีการจัดตั้งองค์การสำหรับพัฒนา และควบคุมมาตรฐานหมายองค์กรดังต่อไปนี้

•  ISO (The International Standards Organization)

        เป็นองค์การสากลที่พัฒนามาตรฐานสากลเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมเครือข่าย โดยมีการแบ่งโครงสร้างในการติดต่อสื่อสารออกเป็น 7 ชั้น (Layers)

•  CCITT (The Conseclitive Committee in International)

        เป็นองค์กรสากลที่พัฒนามาตรฐาน V และ x โดยที่มาตรฐาน v ใช้สำหรับวงจรโทรศัพท์และโมเด็ม เช่น v29, v34 ส่วนมาจรฐาน x ใช้กับเครือข่ายข้อมูลสาธารณะเช่น เครือข่าย x.25 แพ็กเกจสวิตช์ (Package switch) เป็นต้น

•  ANSI (The American National Standards Institute)

        เป็นองค์กรมาตรฐานของสหรัฐเมริกา ANSI ได้พัฒนามาตรฐานเกี่ยวกับการสื่อสารข้อมูลและระบบเครือข่ายมาตรฐานส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ตัวเลขที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลและมาตรฐานเทอร์มินัล

•  IEE (The Institute of Electronic Engineers)

        เป็นมาตรฐานที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มนักวิชาการ และผู้ปกครองอาชีพทางสาขาไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ในอเมริกา มาตรฐานนี้จะเน้นไปทางด้านอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครโปรเซสเซอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในไมโครคอมพิวเตอร์ เช่น IEE 802.3 ซึ่งใช้ระบบ LAN (Local Area Network)

•  EIA (The Electronics Industries Association)

       เป็นองค์กรมาตรฐานของอเมริกาได้กำหนดมาตรฐานทางด้านไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์มาตรฐาน EIA จะขึ้นต้นด้วย RS (Recommended Standard) เช่น Rs-232-c เป็นต้น

        การผลิตของผู้ประกอบการต่าง ๆ ไม่ว่าจะใช้มาตรฐานใดก็ตาม สิ่งที่ผลิตนั้นอย่างน้อยจะต้องได้ครบตามมาตรฐาน แต่อาจจะดีเหนือกว่ามาตรฐานก็ได้

6. ลักษณะของสัญญาณที่ใช้ในการส่งสัญญาณข้อมูล

การส่งสัญญาณข้อมูล หรือข่าวสารต่าง ๆ สามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้

•  การส่งสัญญาณแบบอนาลอก (Analog Transmission)

        การส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะไม่คำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่รวมอยู่ในสัญญาณเลย โดยสัญญาณจะแทนข้อมูล อนาลอก เช่น สัญญาณเสียง เป็นต้น ซึ่งสัญญาณอนาลอกที่ส่งออกไปนั้นเมื่อระยะห่างออกไปสัญญาณก็จะอ่อนลงเรื่อย ๆ ทำให้สัญญาณไม่ค่อยดี ดังนั้นเมื่อระยะห่างไกลออกไปสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องขยายสัญญาณ (Amplifier) แต่ก็มีผลทำให้เกิดสัญญาณรบกวน (Noise) ขึ้น ยิ่งระยะไกลมากขึ้นสัญญาณรบกวนก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขสัญญาณรบกวนนี้ได้โดยใช้เครื่องกรองสัญญาณ (Filter) เพื่อกรองเอาสัญญาณรบกวนออกไป

•  การส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Digital Transmission)

        การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะใช้เมื่อต้องการข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนแน่นอน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสนใจรายละเอียดทุกอย่างที่บรรจุมากับสัญญาณ ในทำนองเดียวกันกับการส่งสัญญาณแบบอนาลอก กล่าวคือ เมื่อระยะทางในการส่งมากขึ้น สัญญาณดิจิตอลก็จะจางลง ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยใช้อุปกรณ์ทำสัญญาณซ้ำ หรือรีพีตเตอร์ (Repeater)

        ปัจจุบันการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะเข้ามามีบทบาทสูงในการสื่อสารข้อมูล เนื่องจากให้ความถูกต้องชัดเจนของข้อมูลสูง และส่งได้ในระยะไกลด้วย สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้ง่ายด้วย ทั้งนี้เนื่องจากสัญญาณจากคอมพิวเตอร์อยู่ในรูปของดิจิตอลนั่นเองแต่เดิมนั้นถ้าหากระยะทางในการสื่อสารไกลมักจะใช้สัญญาณแบบอนาลอกเสียส่วนใหญ่ เช่น โทรศัพท์, โทรเลข เป็นต้น

7. รหัสที่ใช้ส่งสัญญาณข้อมูล (Transmission Code)

        การส่งสัญญาณการสื่อสารถูกแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ แบบดิจิตอลและแบบอนาลอก ซึ่งการส่งสัญญาณแบบอนาลอกส่วนใหญ่จะเป็นการติดต่อสื่อสารกันระหว่างมนุษย์ ได้แก่ การได้ยิน การมองเห็น อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ สำหรับการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น ส่วนใหญ่จะสื่อสารกันโดยใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ในการถ่ายทอดข้อมูลซึ่งกันและกัน

        ข้อมูลหรือข่าวสารโดยทั่วไปแล้วในเบื้องต้นส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปแบบที่มนุษย์เข้าใจได้ในทันที เช่น ตัวอักษร ตัวเลข เสียง และภาพต่าง ๆ ซึ่งข่าวสารเหล่านี้จะอยู่ในรูปแบบอนาลอก แต่เมื่อต้องการนำข้อมูลหรือข่าวสารเหล่านี้มาใช้กับคอมพิวเตอร์ จะต้องเปลี่ยนข้อมูล หรือข่าวสารเหล่านี้ให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้เสียก่อน ซึ่งคอมพิวเตอร์จะรับรู้ข่าวสารที่เป็นแบบดิจิตอลเท่านั้น นั่นคือการเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนข่าวสารแบบอนาลอกให้เป็นข่าวสารแบบดิจิตอลนั่นเอง

        จากข้อความหรือข่าวสารต่าง ๆ ที่เรามองเห็นและเข้าใจได้ เมื่อเราป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์โดยพิมพ์เข้าทางแป้นพิมพ์ ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะต้องมีการเข้ารหัสโดยผ่านตัวเข้ารหัส (Encoder) ให้อยู่ในรูปของสัญญาณที่สามารถส่งสัญญาณต่อไปได้เมื่อสัญญาณถูกส่งไปยังเครื่องรับ จากนั้นเครื่องรับก็จะตีความสัญญาณที่ส่งมาและผ่านตัวถอดรหัส (Decodes) ให้กลับมาอยู่ในรูปแบบที่เราเข้าใจได้หรืออยู่ในรูปแบบที่ใช้สำหรับเก็บในคอมพิวเตอร์ก็ได้อีกครั้งหนึ่ง

8. รูปแบบของรหัส

        รหัสที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของไบนารี (Binary) หรือเลขฐานสอง ซึ่งประกอบด้วยเลข 0 กับเลข 1 โดยใช้รหัสที่เป็นเลข 0 แทนการไม่มีสัญญาณไฟและเลข 1 แทนการมีสัญญาณไฟ ซึ่งเป็นไปตามหลักการของไฟฟ้าที่มีลักษณะมีไฟและไม่มีไฟอยู่ตลอดเวลา เรียกรหัสที่ประกอบด้วย 0 กับ 1 ว่าบิต (Binary Digit) แต่เนื่องจากข้อมูลหรือข่าวสารทั่วไปประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลขและสัญลักษณ์มากมาย ถ้าจะใช้ 0 กับ 1 เป็นรหัสแทนแล้วก็คงจะได้เพียง 2 ตัวเท่านั้น เช่น 0 แทนตัว A และ 1 แทนด้วย B

        ดังนั้นการกำหนดรหัสจึงได้นำกลุ่มบิตมาใช้ เช่น 6 บิต , 7 บิต หรือ 8 บิตแทนตัวอักษร 1 ตัว ซึ่งจะสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด รหัสมาตรฐานโดยทั่วไปจะใช้กับอักขระภาษาอังกฤษซึ่งมีหลายมาตรฐาน เช่น รหัสโบดอต (Baudot code), รหัสแอบซีดิก (EBCDIC) และรหัสแอสกี (ASCll Code)

รหัสแอสกี (ASCll CODE)

        รหัสแอสกี (ASCll CODE) มาจากคำเต็มว่า American Standard Code for Information Interchange ซึ่งเป็นรหัสมาตรฐานของอเมริกาที่ใช้สำหรับส่งข่าวสารมีขนาด 8 บิต โดยใช้ 7 บิตแรกเข้ารหัสแทนตัวอักษร ส่วนบิตที่ 8 จะเป็นบิตตรวจสอบ (Parity Bit Check) รหัสแอสกีได้รับมาตรฐานของ CCITT หมายเลข 5 เป็นรหัสที่ได้รับความนิยมในการสื่อสารข้อมูลอย่างกว้างขวาง เนื่องจากรหัสแอสกีใช้ 7 บิตแรกแทนตัวอักขระ แต่ละบิตจะประกอบด้วยตัวเลข 0 หรือเลข 1 ดังนั้นรหัสแอสกีจะมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 27 หรือเท่ากับ 128 ตัวอักขระนั่นเองในจำนวนนี้จะแบ่งเป็นตัวอักษรที่พิมพ์ได้ 96 อักขระ และเป็นตัวควบคุม (Control Characters) อีก 32 อักขระ ซึ่งใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์และการ ทำงานต่าง ๆ

รหัสโบคอต (Baudot Code)

        รหัสโบคอตเป็นรหัสที่ใช้กับระบบโทรเลข และเทเล็กซ์ ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรฐานของ CCITT หมายเลข 2 เป็นรหัสขนาด 5 บิต สามารถมีรหัสที่แตกต่างกันได้เท่ากับ 25 หรือเท่ากับ 32 รูปแบบ ซึ่งไม่เพียงพอกับจำนวนอักขระทั้งหมด จึงมีการเพิ่มอักขระพิเศษขึ้นอีก 2 ตัว คือ 11111 หรือ LS (Letter Shift Character) เพื่อเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์เล็ก (Lower case) และ 11011 หรือ FS(Figured Shift Character) สำหรับเปลี่ยนกลุ่มตัวอักษรเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทำให้มีรหัสเพิ่มขึ้นอีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 ตัว จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว อีก 32 ตัว แต่มีอักขระซ้ำกับอักขระเดิม 6 เดิม จึงสามารถใช้รหัสได้จริง 58 ตัว เนื่องจากรหัสโบคอตมีขนาด 5 บิต ซึ่งไม่มีบิตตรวจสอบจึงไม่นิยมนำมาใช้กับคอมพิวเตอร์

รหัสแอบซีดิก (EBCDIC)

        รหัส EBCDIC มาจากคำเต็มว่า Extended Binary Coded Decimal Interchange Code พัฒนาขึ้นโดยบริษัท IBM มีขนาด 8 บิตต่อหนึ่งอักขระ โดยใช้บิตที่ 9 เป็น บิตตรวจสอบ ดังนั้นจึงสามารถมีรหัสที่แตกต่างสำหรับใช้แทนตัวอักษรได้ 28 หรือ 256 ตัวอักษร ปัจจุบันรหัสแอบซีดิกเป็นมาตรฐานในการเข้าตัวอักขระบนเครื่องคอมพิวเตอร์

9. รหัสแบบของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารข้อมูล

        การเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสารเพื่อสื่อสารข้อมูลจากจุดหนึ่งไปยังอักจุดหนึ่งนั้น สามารถทำได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สำหรับรูปแบบของการเชื่อมต่อแบ่งออกเป็นหลายรูปแบบดังต่อไปนี้

1. การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point Line)

        เป็นการเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน โดยต่อจากอุปกรณ์รับหรือส่ง 2 ชุด ใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวมีความยาวของสายไม่จำกัด เชื่อมต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา (Lease Line) ซึ่งสายส่งอาจจะเป็นชนิดสายส่งทางเดียว (Simplex) สายส่งกึ่งทางคู่ (Half-duplex) หรือสายส่งทางคู่แบบสมบูรณ์ (Full-duplex) ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบซิงโครนัสหรือแบบอซิงโครนัส การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดมีได้หลายลักษณะ

2. การเชื่อมต่อแบบหลายจุด (Multipoint or Multidrop)

        เนื่องจากค่าเช่าช่องทางในการส่งผ่านข้อมูลต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากการส่งข้อมูลไม่ได้ใช้งานตลอดเวลา จึงมีแนวความคิดที่จะใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียวแต่เชื่อมต่อกับหลายๆ จุด ซึ่งทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่า ลักษณะการเชื่อมต่อแบบหลายจุดแสดงให้เห็นได้ดังรูป

        การเชื่อมต่อแบบหลายจุดแต่จุดจะมีบัฟเฟอร์ (Buffer) ซึ่งเป็นที่พักเก็บข้อมูลชั่วคราวก่อนทำการส่ง โดยบัฟเฟอร์จะรับข้อมูลมาเก็บเรื่อย ๆ จนเต็มบัฟเฟอร์ ข้อมูลจะถูกส่งทันทีหรือเมื่อมีคำสั่งให้ส่ง เพื่อใช้สายสื่อสารให้เต็มประสิทธิภาพในการส่งแต่ละครั้ง และช่วงใดที่ว่างก็สามารถให้ผู้อื่นส่งได้ การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะกับการสื่อสารที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก และเป็นข้อมูลที่ไม่ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าการสื่อสารข้อมูลโดยวิธีการเชื่อมต่อแบบหลายจุดจะประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ระบบสื่อสารได้ค่อนข้างเต็มประสิทธิภาพ แต่ก็มีข้อจำกัดหลายประการดังต่อไปนี้

•  ประสิทธิภาพของเครื่องและซอฟต์แวร์ที่ใช้สื่อสารข้อมูล

•  ปริมาณการส่งผ่านข้อมูลที่เกิดขึ้นจากสถานีส่งและรับข้อมูล

•  ความเร็วของช่องทางการส่งผ่านข้อมูลที่ใช้

•  ข้อจำกัดที่ออกโดยองค์การที่ควบคุมการสื่อสารของแต่ละประเทศ

3•  การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร (Switched Network)

        จากรูปแบบการเชื่อมต่อที่เป็นแบบจุดซึ่งต้องต่อสายสื่อสารไว้ตลอดเวลา แต่ในทางปฏิบัติจริงแล้วการสื่อสารข้อมูลไม่ได้ผ่านตลอดเวลา ดังนั้นจึงมีแนวความคิดในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารหรือเครือข่ายสวิตซ์ซิ่ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบจุดต่อจุดให้สามารถใช้สื่อสารได้มากที่สุด ลักษณะเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารสามารถแสดงได้ดังรูป

        เครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารที่เห็นโดยทั่วไปมี 4 รูปแบบดังนี้

•  เครือข่ายสื่อสารโทรศัพท์ (The Telephone Network)

•  เครือข่ายสื่อสารเทลเล็กช์ (The Telex/TWX Network)

•  เครือข่ายสื่อสารแพคเกตสวิตซ์ซิ่ง (package Switching Network)

•  เครือข่ายสื่อสารสเปเซียลไลซ์ ดิจิตอล (Specialized Digital Network)

หลักการทำงานของเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสารดังนี้

•  การเชื่อมต่อต้องเป็นแบบจุดต่อจุด

•  ต้องมีการเชื่อมต่อการสื่อสารกันทั้งฝ่ายรับและส่งก่อนจะเริ่มรับหรือส่งข้อมูล เช่น หมุนเบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น

•  หลังจากสื่อสารกันเสร็จเรียบร้อยจะต้องตัดการเชื่อมต่อ เพื่อให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ต่อไป

10. สื่อกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล

        องค์ประกอบที่สำคัญที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลอันหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือสายสื่อกลาง ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ สื่อกลางที่กำหนดเส้นทางได้ เช่น สายโคแอกเซียล (Coaxial) สายเกลียวคู่ (Twisted-pair) สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) และสื่อกลางที่กำหนดเส้นทางไม่ได้ เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นดาวเทียม คลื่นไมโครเวฟ เป็นต้น

        การเลือกสื่อกลางที่จะนำมาใช้ในการเชื่อมต่อระบบสื่อสารข้อมูลนั้น จำเป็นต้องพิจารณากันหลายประการ เช่น ความเร็วในการส่งข้อมูล ราคาของอุปกรณ์ที่ใช้ สถานที่ใช้ การบริการ การควบคุม ตลอดจนเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ ซึ่งลื่อกลางแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันไป

สายโคแอกเซียล (Coaxial Cable)

        สายโคแอกเซียลเป็นสายที่นิยมใช้กันค่อนข้างมากในระบบการสื่อสารความถี่สูง เช่น สายอากาศของทีวี สายชนิดนี้ถูกออกแบบมาให้มีค่าความต้านทาน 75 โอห์มและ 50 โอห์ม โดยสาย 75 โอห์ม ส่วนใหญ่ใช้กับสายอากาศทีวีและสาย 50 โอห์ม จะนำมาใช้กับการสื่อสารที่เป็นระบบดิจิตอล

        คุณสมบัติของสายโคแอกเซียลประกอบด้วยตัวนำสองสาย โดยมีสายหนึ่งเป็นแกนอยู่ตรงกลางและอีกเส้นเป็นตัวนำล้อมรอบอยู่อีกชั้น มีขนาดของสาย 0.4 ถึง 1 นิ้ว

        สายโคแอกเซียลมี 2 แบบ คือ แบบหนา (Thick) และแบบบาง (Thin) แบบหนาจะแข็ง การเดินสายทำได้ค่อนข้างยาก แต่สามารถส่งสัญญาณได้ไกลกว่าแบบบาง

สายคู่บิดเกลียว ( Twisted-Pair)

        สายคู่เกลียวเป็นสายมาตรฐานสองเส้นหุ้มด้วยฉนวนแล้วบิดเป็นเกลียว สามารถรับส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ อนาลอกและแบบดิจิตอล สายชนิดนี้จะมีขนาด 0.015-0.056 นิ้ว ส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็ว 10 เมกะบิตต่อวินาที ถ้าใช้ส่งสัญญาณแบบอนาลอกจะต้องใช้วงจรขยายหรือแอมพลิฟายเออร์ ทุก ๆ ระยะ 5-6 กม. แต่ถ้าต้องการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจะต้องใช้อุปกรณ์ทำซ้ำสัญญาณ (Repeater) ทุก ๆ ระยะ 2-3 กม. โดยทั่วไปแล้วสำหรับการส่งข้อมูลแบบดิจิตอล สัญญาณที่ส่งเป็นลักษณะคลื่นสี่เหลี่ยม สายคู่บิดเกลียวสามารถใช้ส่งข้อมูลได้หลายเมกะบิตต่อวินาทีในระยะทางได้ไกลหลายกิโลเมตร เนื่องจากสายคู่เกลียว มีราคาไม่แพงมาก ใช้ส่งข้อมูลได้ดี และมีน้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังง่ายต่อการติดตั้ง จึงถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างของสายคู่บิดเกลียว คือ สายโทรศัพท์ สำหรับสายคู่บิดเกลียวนั้นจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ

•  สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair : STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นหนึ่ง เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าดังรูป

•  สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair : UTP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่บางทำให้สะดวกในการโค้งงอ แต่จะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก ดังรูป

สายส่งแบบไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic)

        เป็นการส่งสัญญาณด้วยใยแก้ว และส่งสัญญาณด้วยแสงมีความเร็วในการส่งข้อมูลสูงสามารถส่งข้อมูลได้ด้วยเร็วเท่ากับแสง ไม่มีสัญญาณรบกวนจากภายนอก

        สายส่งข้อมูลแบบไฟเบอร์ออฟติกจะประกอบด้วยเส้นใยแก้ว 2 ชนิด ชนิดหนึ่งอยู่ตรงแกนกลาง อีกชนิดหนึ่งอยู่ด้านนอก โดยที่ใยแก้วทั้ง 2 นี้จะมีดัชนีในการสะท้อนแสงต่างกัน ทำให้แสงที่ส่งจากปลายด้านหนึ่งผ่านไปยังอีกด้านหนึ่งได้

11. อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์

โมเด็ม (MODEM)

        MODEM มาจากคำเต็มว่า Modulator – Demodulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบอนาลอกก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็นดิจิตอล เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง

มัลติเพล็กซ์เซอร์ (Multiplexer) 

        วิธีการเชื่อมต่อการสื่อสารระหว่างผู้รับและผู้ส่งปลายทางที่ง่ายที่สุดคือ การเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุด (Point to Point) แต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงและใช้งานไม่เต็มที่ จึงมีวิธีการเชื่อมต่อที่ยุ่งยากขึ้น คือการเชื่อมต่อแบบหลายจุดซึ่งใช้สายสื่อสารเพียงเส้น 802.3

คอนเซนเตรเตอร์ (Concentrator)

        คอนเซนเตรเตอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถเพิ่มสายหรือช่องทางการส่งข้อมูลได้มากขึ้น การส่งข้อมูลจะเป็นแบบอซิงโครนัส

คอนโทรลเลอร์ (Controller)

        คอนโทรลเลอร์เป็นมัลติเพล็กซ์เซอร์ที่ส่งข้อมูลแบบอซิงโครนัส ที่สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูงได้ดี การทำงานจะต้องมีโปรโตคอลพิเศษสำหรับกำหนดวิธีการรับส่งข้อมูล มีบอร์ดวงจรไฟฟ้าและซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์

ฮับ (HUB)

        ฮับเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่เช่นเดียวกับมัลติเพล็กซ์เซอร์ ซึ่งนิยมใช้กับระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มีราคาต่ำ ติดต่อสื่อสารข้อมูลตามมาตรฐาน IEEE 802.3

ฟรอนต์ – เอ็นโปรเซสเซอร์ FEP (Front-End Processor)

        FEP เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างโฮสต์คอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับสื่อสารข้อมูล เช่น โมเด็ม มัลติเล็กซ์เซอร์ เป็นต้น FEP เป็นอุปกรณ์ทีมีหน่วยความจำ (RAM) และซอฟต์แวร์สำหรับควบคุมการทำงานเป็นของตัวเองโดยมีหน้าที่หลักคือ ทำหน้าที่แก้ไขข่าวสาร เก็บข่าวสาร เปลี่ยนรหัสรวบรวมหรือกระจายอักขระ ควบคุมอัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูล จัดคิวเข้าออกของข้อมูล ตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล

อิมูเลเตอร์ (Emulator)

        อิมูเลเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนกลุ่มข่าวสารจากโปรโตคอลแบบหนึ่งไปเป็นกลุ่มข่าวสาร ซึ่งใช้โปรโตคอลอีกแบบหนึ่ง แต่จะเป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์หรือเป็นโปรแกรมซอฟต์แวร์ก็ได้ บางครั้งอาจจะเป็นทั้ง 2 อย่าง โดยทำให้คอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ามานั้นดูเหมือนเป็นเครื่องเทอร์มินัลหนึ่งเครื่อง โฮสต์หรือมินิคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนิยมนำเครื่อง PC มาใช้เป็นเทอร์มินัลของเครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้เพราะประหยัดกว่าและเมื่อไรที่ไม่ใช้ติดต่อกับมินิหรือเมนแฟรมก็สามารถใช้เป็น PC ทั่วไปได้

เกตเวย์ (Gateway)

        เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าที่หลักคือ ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2 เครือข่ายหรือมากกว่าซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน สามารถสื่อสารกันได้เสมือนกับเป็นเครือข่ายเดียวกัน โดยทั่วไปแล้วระบบเครือข่ายแต่ละเครือข่ายอาจจะแตกต่างกันในหลายกรณี เช่น ลักษณะการเชื่อมต่อ (Connectivity) ที่ไม่เหมือนกัน โปรโตคอลที่ใช้สำหรับรับส่งข้อมูลต่างกัน เป็นต้น

บริดจ์ (Bridge)

        เป็นอุปกรณ์ IWU (Inter Working Unit) ที่ใช้สำหรับเชื่อมเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN) 2 เครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะใช้โปรโตคอลที่เหมือนกันหรือต่างกันก็ได้

เราเตอร์ (Router)

        เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งอาจจะเป็นเครือข่ายเดียวกันหรือข้ามเครือข่ายกัน โดยการเชื่อมกันระหว่างหลายเครือข่ายแบบนี้เรียกว่า เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) โดยเครือข่ายแต่ละเครือข่ายจะเรียกว่า เครือข่ายย่อย (Sub network) ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระหว่างเครือข่าย เรียกว่า IWU (Inter Working Unit) ได้แก่ เราเตอร์และบริดจ์

รีพีตเตอร์ (Repeater)

        เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับส่งสัญญาณซ้ำ เพื่อส่งสัญญาณต่อไปนี้ในระยะไกลป้องกันการขาดหายของสัญญาณ ซึ่งรูปแบบของเครือข่ายแต่ละแบบรวมทั้งสายสัญญาณที่ใช้เป็นตัวกลางหรือสื่อกลางแต่ละชนิดจะมีข้อจำกัดของระยะทางในการส่ง ดังนั้นเมื่อต้องการส่งสัญญาณให้ไกลกว่าปกติต้องเชื่อมต่อกับรีพีตเตอร์ดังกล่าว เพื่อทำให้สามารถส่งสัญญาณ ได้ไกลยิ่งขึ้น


12. เครือข่าย (Networks)

        เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ

        ความจำเป็นในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์มีความจำเป็นในการทำงานในยุคปัจจุบัน ด้วยเหตุผลดังนี้

1) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำให้การทำงานมีความคล่องตัว ยืดหยุ่น และปรับตัวให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

2) เครือข่ายช่วยให้หน่วยงานประหยัดงบประมาณโดยช่วยสนับสนุนการใช้ทรัพยากร คอมพิวเตอร์ร่วมกัน เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และฐานข้อมูล

3) เครือข่ายทำให้พนักงานหรือทีมงานของหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันสามารถใช้เอกสารร่วมกัน และแลกเปลี่ยนแนวคิด ความเห็น ตลอดจนเสริมให้การทำงานเป็นทีมมีประสิทธิภาพดีขึ้น และกระตุ้นให้เกิดความคิดใหม่ ๆ

4) เครือข่ายช่วยสร้างให้การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงานกับลูกค้าหรือองค์การภายนอกมีความใกล้ชิดกันมากยิ่งขึ้น

ประเภทของเครือข่าย

1) จำแนกตามพื้นที่

– เครือข่ายเฉพาะที่ (Local Area Network-LAN)

        เป็นการติดต่ออุปกรณ์สื่อสารตั้งแต่ 2 ชิ้นขึ้นไประยะ 2 , 000 ฟุต (โดยปกติจะอยู่ในอาคารเดียวกัน) LAN จะช่วยให้ผู้ใช้จำนวนมากสามารถใช้ทรัพยากรของหน่วยงานร่วมกัน เช่น พรินต์เตอร์ โปรแกรม และไฟล์ข้อมูล ในกรณีที่ LAN ต้องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายสาธารณะภายนอก เช่น เครือข่ายโทรศัพท์หรือเครือข่ายของหน่วยงานอื่น จะต้องมี gateway ซึ่งทำหน้าที่เหมือนประตูติดต่อระหว่างเครือข่ายที่แตกต่างกัน โดยช่วยแปลโปรโตคอลของเครือข่ายให้กับอีกโปรโตคอลหนึ่งเพื่อจะทำงานร่วมกันได้

– เครือข่ายเมือง (Metropolitan Area Network-MAN)

        เครือข่าย MAN เป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงขนาดใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง เช่น ในเมืองเดียวกัน

– เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network-WAN)

        เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่ในบริเวณกว้างโดยครอบคลุมทั้งประเทศหรือทั้งทวีป WAN จะอาศัยสื่อโทรคมนาคมหลายประเภท เช่น เคเบิ้ล ดาวเทียม และไมโครเวฟ

2) แบ่งตามความเป็นเจ้าของ

– เครือข่ายสาธารณะ (Public Network)

        เป็นเครือข่ายที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้โดยทั่วไปได้ใช้ประโยชน์ ดังนั้นผู้ใช้จะต้องแข่งกับผู้ใช้รายอื่น โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้จำนานมาก เช่น ระบบโทรศัพท์สาธารณะ ซึ่งผู้ใช้ไม่มีหลักประกันว่า สายจะว่างในช่วงที่ต้องการหรือไม่

– เครือข่ายเอกชน (Private Network)

        เป็นเครือข่ายที่หน่วยงานสามารถเป็นเจ้าของเอง หรือ เช่าเพื่อประโยชน์ในการสื่อสาร กรณีนี้ก็จะเป็นหลักประกันว่าหน่วยงานจะมีโอกาสได้ใช้เครือข่ายเมื่อต้องการเสมอ

– เครือข่ายแบบมูลค่าเพิ่ม (Value-added Network-VAN)

        เป็นเครือข่ายกึ่งสาธารณะซึ่งให้บริการเพิ่มขึ้นจากการติดต่อสื่อสารปกติผู้ให้บริการสื่อสาร (Communication service provider) เป็นเจ้าของ VAN อย่างไรก็ตาม VAN เร็วกว่าเครือข่ายสาธารณะและมีความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายสาธารณะ

– เครือข่ายเอกชนเสมือนจริง (Virtual Private Network-VPN)

        เป็นเครือข่ายสาธารณะที่รับประกันว่าผู้ใช้จะมีโอกาสใช้งานเครือข่ายได้ตลอดเวลาแต่ไม่ได้ให้สายหรือช่องทางการสื่อสารแก่หน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ แต่จะใช้วิธีแปลงรหัสข้อมูลของหน่วยงานผู้ใช้โดยเฉพาะ เพื่อที่จะส่งไปพร้อม ๆ กับหน่วยงานอื่น ๆ


13. Network Topology

        คือการออกแบบและการติดต่อเชื่อมโยงกันของเครือข่ายทางกายภาพ โดยทั่วไปโทโปโลจีพื้นฐานมีอยู่ 3 ประเภท ดังนี้

1) แบบดาว (Star Network)

        เป็นเครือข่ายที่คอมพิวเตอร์ทุกตัวและอุปกรณ์อื่นเชื่อมกับโฮสต์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ และการสื่อสารทั้งหมดระหว่างอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเครือข่ายต้องผ่านโฮสต์คอมพิวเตอร์ เนื่องจากโฮสต์คอมพิวเตอร์เป็นตัวควบคุมอุปกรณ์อื่นทั้งหมดในเครือข่าย เครือข่ายแบบดาวเหมาะสำหรับการประมวลผลที่มีลักษณะรวมศูนย์ อย่างไรก็ตามข้อจำกัดของแบบนี้ คือ หากใช้โฮสต์คอมพิวเตอร์ก็จะทำให้ระบบทั้งหมดทำงานไม่ได้

2) แบบบัส (Bus Network)

        เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์โดยใช้สายวงจรเดียว ซึ่งอาจจะเป็นสายเกลียวคู่สายโคแอกเชียล หรือ สายใยแก้วก็ได้ สัญญาณสามารถสื่อสารได้ 2 ทางในเครือข่ายโดยมีซอฟต์แวร์คอยช่วยแยกว่าอุปกรณ์ใดจะเป็นตัวรับข้อมูล หากมีคอมพิวเตอร์ตัวใดในระบบล้มเหลวจะไม่มีผลต่อคอมพิวเตอร์อื่น อย่างไรก็ตามช่องทางในระบบเครือข่ายแบบนี้สามารถจัดการรับข้อมูลได้ครั้งละ 1 ชุดเท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการจราจรของข้อมูลได้ในกรณีที่มีผู้ต้องการใช้งานพร้อมกัน โทโปโลจีแบบนี้นิยมใช้ในวงแลน

3) แบบวงแหวน (Ring Network)

        คอมพิวเตอร์ทุกตัวเชื่อมโยงเป็นวงจรปิด ทำให้การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่งไปยังอีกตัวหนึ่งโดยเดินทางไปในทิศทางเดียว คอมพิวเตอร์แต่ละตัวทำงานโดยอิสระ หากมีตัวใด ตัวหนึ่งเสียระบบการสื่อสารในเครือข่ายได้รับการกระทบกระเทือน ยกเว้นจะมีวงแหวนคู่ในการรับส่ง ข้อมูลในทิศทางต่างๆ กัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในการป้องกันไม่ให้เครือข่ายหยุดทำงานโดยสิ้นเชิง

        นอกจากโทโปโลจีทั้ง 3 แบบที่กล่าวข้างต้น อาจจะพบโทโปโลจีแบบอื่นๆ เช่น แบบโครงสร้างลำดับชั้น (Hierarchical Network) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้างคล้ายต้นไม้ (Tree) หรือมีแบบผสม (Hybrid) อย่างไรก็ตามโทโปโลจีแต่ละประเภทจะมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันผู้พัฒนาระบบจะต้องพิจารณาถึงความเร็ว ความเชื่อถือได้ และความสามารถของเครือข่ายในการทำงาน หรือการแก้ไขข้อบกพร่องในกรณีที่อุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งในระบบมีปัญหาตลอดจนลักษณะทางกายภาพ เช่น ระยะห่างของ node และต้นทุนของทั้งระบบ


14. รูปแบบการประมวลผลแบบกระจายเครือข่าย (Organizational Distributed Processing)

        วิธีการประมวลผลของเครือข่ายคอมพิวเตอร์มี 3 รูปแบบ คือ

1. Terminal-to-Host Processing

2. File Server Processing

3. Client/Server

พัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสาร

ภายในสำนักงานของบริษัทหรือองค์การใด ๆ จะพบว่าเจ้าหน้าที่ใช้เวลาส่วนใหญ่กับการติดต่อสื่อสาร เช่น พนักงานขายสินค้าทำงานอยู่กับการติดต่อทางโทรศัพท์กับลูกค้าอยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารระดับสูงของบริษัทจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในการประชุมปรึกษางานการเจรจาธุรกิจทางโทรศัพท์ การโต้ตอบจดหมาย เป็นต้น บุคคลเหล่านี้ต้องการระบบการติดต่อสื่อสารที่ตรงจุดและทันสมัยเพื่อจะช่วยให้งานประสบความสำเร็จ
aaaaaเมื่อพิจารณาระบบงานภายในสำนักงาน ข้อมูลที่หมุนเวียนไปมาจะอยู่ในรูปแบบหลายอย่าง เช่น การบันทึกย่อ จดหมาย การพูดคุยทางโทรศัพท์ การพบปะประชุมร่วมกันและการเผยแพร่เอกสารไปยังหน่วยงานอื่น ซึ่งผู้ทำงานในสำนักงานสามารถเลือกรูปแบบให้เหมาะสมกับบุคคลหรือหน่วยงาน
aaaaaวิธีการติดต่อสื่อสารสามารถทำได้หลายทาง ขึ้นกับปัจจัยประกอบหลายประการ เช่น การเลือกรูปแบบการติดต่อ และการเลือกช่องหรือตัวกลางการติดต่อ ซึ่งอาจใช้เลขานุการ ใช้พนักงานส่งจดหมายหรือใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

aaaaaเนื่องจากเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทำให้เกิดระบบการสื่อสารใหม่ออกมาตลอดเวลา ผู้ทำงานในสำนักงานจึงมีโอกาสเลือกใช้วิธีการติดต่อสื่อสาร ปัจจัยสำคัญซึ่งใช้ในการพิจารณาเลือกระบบสื่อสารให้สามารถนำมาใช้งานได้ดีมีดังนี้
aaaaa1. กลุ่มผู้ใช้ระบบสื่อสารควรมีจำนวนมากพอ ระบบสื่อสารนั้นจะไม่มีประโยชน์หรือใช้งานน้อยถ้ามีกลุ่มผู้ใช้งานน้อย เพราะจะทำให้การกระจายข้อมูลทำได้ไม่กว้างขวาง
aaaaa2. การเข้ากันได้ระหว่างระบบสื่อสารกับงานของสำนักงาน ระบบสื่อสารนั้นควรมีรูปแบบเหมือนหรือเข้ากันได้กับงานที่ดำเนินการอยู่ หากต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบของข้อมูลเพื่อเข้ากับระบบสื่อสาร หรือข้อมูลที่ได้รับจากระบบสื่อสารไม่สามารถใช้กับงานเดิมได้ จะทำให้เกิดความไม่สะดวก ปราศจากความปลอดภัยและความเชื่อถือได้ในการติดต่อสื่อสาร
aaaaa3. ความสมเหตุสมผลทางราคา ระบบสื่อสารต่าง ๆ จะต้องมีค่าใช้จ่ายประกอบด้วยเสมอ ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้จะต้องอยู่ในวิสัยที่สามารถลงทุนได้และต้องคุ้มค่ากับราคา
aaaaaปัจจัยทั้งสามเป็นข้อพิจารณาในการเลือกใช้ระบบสื่อสาร เพื่อทำให้งานในสำนักงานมีประสิทธิภาพสูงสุด การนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยระบบสื่อสารก็จะทำให้ระบบงานลดความซับซ้อนลงได้ ระบบการสื่อสารที่น่าสนใจจะเป็นการส่งข้อมูลหรือข้อความด้วยคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
aaaaaระบบสื่อสารที่ใช้ภายในสำนักงานส่วนใหญ่ คือการส่งจดหมาย การโทรศัพท์ การส่งโทรเลข การส่งเทเล็กซ์ ระบบสื่อสารที่นิยมกันมากคือ การส่งโทรสารและโทรศัพท์
aaaaaโทรศัพท์ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรและให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2413 ในช่วงเวลาเดียวกับที่มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ถ่ายภาพ และหลอดไฟ ในระยะเริ่มแรกโทรศัพท์ไม่ค่อยได้รับความนิยมมาก อัตราการขยายการใช้งานค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่เกิดใกล้เคียงกันดังกล่าว สาเหตุใหญ่เนื่องมาจากเครือข่ายของโทรศัพท์ยังครอบคลุมในบริเวณเล็ก ๆ ซึ่งตามปกติสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ด้วยจดหมายภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง
aaaaaปัจจุบันเครือข่ายของโทรศัพท์ได้มีการแพร่หลายครอบคลุมในบริเวณกว้าง และเป็นที่ยอมรับสำหรับการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจทั่วโลก ในทุกประเทศ ธุรกิจและกิจการหลายอย่างมีการดำเนินงานโดยพึ่งพาโทรศัพท์ โทรศัพท์ได้รับความนิยมอย่างมากเพราะเทคโนโลยีของโทรศัพท์ได้รับการพัฒนามาหลายขั้นตอนทั้งในด้านตัวเครื่อง ตู้ชุมสาย และระบบเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
aaaaaการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์ได้รับความนิยมกันแพร่หลาย รวดเร็วจนจำนวนคู่สายไม่พอเพียงต่อความต้องการจึงมีการขยายอยู่เรื่อยมา และมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ออกมาตัวอย่างเช่น พัฒนาการของโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตลอดจนการใช้คู่สายแบบเส้นใยนำแสง การติดต่อสื่อสารด้วยโทรศัพท์ยังจำเป็นและจะคงอยู่ภายในสำนักงานไปอีกนาน
aaaaaบริการโทรเลขและเทเล็กซ์เป็นการสื่อสารอีกทางหนึ่งที่มีมานานพอสมควร สามารถส่งข่าวสารในรูปแบบตัวอักษรจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งอย่างรวดเร็ว ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการสื่อสารข่าวสารทางอื่นที่ทันสมัยกว่า แต่การส่งโทรเลขและเทเล็กซ์ก็ยังมีใช้อยู่ทั่วไป เช่น ในงานส่งข่าวหนังสื่อพิมพ์ การค้าระหว่างประเทศ การกำหนดราคาสินค้า การสั่งสินค้าและการประกวดราคาสินค้า เป็นต้น
aaaaaในขณะเดียวกันวิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เปลี่ยนจากระดับเมนเฟรมซึ่งมีขนาดใหญ่มาเป็นเครื่องขนาดเล็กระดับตั้งโต๊ะที่มีขีดควาามสามารถเท่าเทียมเครื่องขนาดใหญ่ ทำให้สำนักงานของบริษัทสามารถนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในงานเอกสารและการบริหารทั่วไปได้ เทคโนโลยีของระบบติดต่อสื่อสารสมัยใหม่ จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้าามาร่วมด้วย

บริการที่อินเทอร์เน็ตมีให้

บริการที่อินเทอร์เน็ตมีให้

1. Telnet หรือ SSH
เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้ติดต่อเครื่องบริการ (Server) เพื่อเข้าควบคุมการทำงานของเครื่อง ปิดเปิดบริการ รับส่งเมล ใช้พัฒนาโปรแกรม เป็นต้น โปรแกรมนี้มีมาพร้อมกับการติดตั้ง TCP/IP ผู้ใช้สามารถเรียกใช้จาก c:\windows\telnet.exe แต่การใช้งานเป็นแบบ Text Mode ที่ผู้ใช้ต้องเรียนรู้คำสั่งให้เข้าใจก่อนใช้งาน ในอดีตผู้ใช้มักใช้โปรแกรม Pine ในเครื่องบริการสำหรับรับส่งอีเมล ก่อนการใช้ POP3 และ Web-Based จะแพร่หลาย โปรแกรม PINE ถูกพัฒนาโดยนักศึกษามหาวิทยาลัย WASHINGTON University+ telnet.orgwikipedia.org

2. อีเมล (e-mail หรือ Electronic Mail)
อีเมล คือ บริการกล่องจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ให้ผู้ใช้สามารถรับ และส่งอีเมลในอินเทอร์เน็ต เพื่อประโยชน์ด้านการสื่อสาร ปัจจุบันบริการอีเมลผ่าน Web-Based Mail ได้รับความนิยมอย่างมาก จึงมีหลายบริษัทเปิดให้บริการฟรีอีเมล เช่น hotmail.comyahoo.com,thaimail.comchaiyo.comlampang.netthaiall.comบริการอีเมลที่ได้รับความนิยมมี 2 ประเภทคือ Web-Based Mail และ POP3 บริการแบบ POP3 นั้นผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดอีเมลจากเครื่องบริการเมลไปเก็บไว้ในเครื่องของตน จึงเปิดอ่านอีเมลเก่าได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เหมาะกับผู้ใช้ในสำนักงานที่มีเครื่องเป็นของตนเอง โปรแกรมที่ใช้เปิดอีเมลแบบ POP3 เช่น Outlook Express, Eudora หรือ Netscape Mail เป็นต้น+ www.thaiall.com/article/mail.htm

3. USENET News หรือ News Group
ในยุคแรกของอินเทอร์เน็ต มีผู้ใช้บริการ USENET อย่างแพร่หลาย เพราะเป็นแหล่งข้อมูลให้สืบค้นขนาดใหญ่ สามารถส่งคำถาม เข้าไปตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดสังคมของการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ปัจจุบันมีการใช้งาน USENET น้อยลง เพราะผู้ใช้หันไปใช้เว็บบอร์ดซึ่งเข้าถึงได้ง่าย และเป็นที่แพร่หลายกว่า ปัจจุบันเชื่อว่าเยาวชนรู้จัก http://www.pantip.com มากกว่า news://soc.culture.thai

4. FTP (File Transfer Protocal – บริการโอนย้ายข้อมูล)
บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windowsการ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว+ ipswitch.com (WS_FTP Client)+ filezilla.sourceforge.net แนะนำโดย thaiopensource.org+ www.thaiall.com/learn/useftp.htm

5. WWW (World Wide Web)
บริการที่ต้องใช้โปรแกรม Web Browser เช่น FireFox, Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เพื่อเปิดดูข้อมูลจากเว็บไซต์ (Website) หรือโฮมเพจ (Homepage) จะได้ข้อมูลในลักษณะเป็นตัวอักษร ภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว ในลักษณะสื่อผสม รวมทั้งการสั่งประมวลผล และตอบสนองแบบอินเทอร์แอ็กทีฟ (Interactive)บริการนี้ได้รับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนนำมาใช้งานอย่างหลากหลาย เช่น ชมภาพยนต์ ฟังเพลงออนไลน์ เล่นเกมส์ ค้นข้อมูล ประมวลผลข้อมูลทางธุรกิจ ทำข้อสอบ การส่งเมล ติดต่อซื้อขาย ชำระเงินด้วยบัตรเครดิต หรือส่งโพสท์การ์ด เป็นต้น+ class.yonok.ac.ththaiall.comuploadtoday.com hollywood.com

6. Skype, Net2Phone, Cattelecom.com
บริการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์ที่บ้าน (PC2Phone) และได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ถูกกว่า และผู้ให้บริการบางรายยังมีบริการ PC2Fax สำหรับส่ง Fax จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปเครื่องรับ Fax ที่สำนักงาน โดยชำระค่าบริการแบบ Pre-Paid และใช้บริการจนกว่าเงินที่จ่ายไว้จะหมดแต่ถ้าโทรจากคอมพิวเตอร์ไปยังคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ฟรี เพราะมีโปรแกรมหลายตัวที่มีความสามารถนี้ และฟรีเช่นกัน บาง+ net2phone.comskype.comcattelecom.com

7. Netmeeting
ในอดีต .. เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยภาพ และเสียงจากคอมพิวเตอร์ ถึงคอมพิวเตอร์ คล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่มีค่าโทรศัพท์ทางไกลไปต่างประเทศ เสียค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเท่านั้นผู้ใช้ต้อง download โปรแกรมมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อสื่อสารแบบนี้ คือ ต้องการสื่อที่รองรับการสื่อสารด้วยความเร็วสูง เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรือขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อไม่เร็วพอ และเป็นไปไม่ได้ ถ้าใช้การเชื่อมต่อเว็บแคม (WebCam) แบบเห็นภาพร่วมด้วย ถ้ายังใช้ Modem 56 Kbps อยู่ แต่ถ้าใช้ ADSL ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องความเร็วอีกต่อไปTo Open Netmeeting in WinXP : Start, Run, conf.exe+ microsoft.comvideofrog.com

8. ICQ (I Seek You)
ในอดีต .. บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยมจนไม่คิดว่าจะมีใครมาล้มได้ ผู้ใดที่มีโปรแกรม ICQ ไว้ในคอมพิวเตอร์ จะติดต่อกับเพื่อนที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเพื่อนใน List ทันทีว่ามาแล้ว และพร้อมจะสนทนาด้วยหรือไม่ เปรียบเสมือนมี Pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว บริการนี้ ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้งฟรี เบอร์ที่ผมเคยใช้คือ 20449588ปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ MSN Messenger หรือ Yahoo Messenger+ icq.commsn.com (Webcam, Speaker, Microphone)+ yahoo.com

9. IRC (Internet Relay Chat)
ในอดีต .. บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถสนทนากับใครก็ได้ที่ใช้โปรแกรม PIRC การสนทนากระทำผ่านแป้นพิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่งที่พิมพ์ออกไป หญิงอาจบอกว่าตนเป็นชาย นักเรียนมัธยมอาจบอกว่าตนเป็นนางงาม เด็กตจว. อาจบอกว่ากำลังเรียนต่อแอลเอ เป็นต้นใน IRC มักแบ่งเป็นห้อง โดยมีชื่อห้องเป็นตัวระบุหัวข้อสนทนา หรือสื่อให้รู้กันในกลุ่ม เช่น “ห้องวิธีแก้เหงา” หากใครต้องการสนทนาถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือเข้าหลายห้องพร้อมกัน สามารถเลือกสนทนากับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะสนทนาพร้อมกันทั้งกลุ่ม เมื่อสนทนากันถูกคอก็สามารถ ที่นัด Meeting ตามร้านอาหาร เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือนัดสนทนากันใหม่ในเวลาที่สะดวกสำหรับวันต่อไป จึงทำให้ทุกเพศทุกวัย ชื่นชอบที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ยังไม่มีคู่ชีวิตปัจจุบันผู้คนหันไปใช้ Messenger หรือ Web Chat+ mirc.comthaiirc.in.th

10. Game Online
เกมส์กลยุทธหลายเกมส์ เป็นการจำลองสถานการณ์การรบ หรือการแข่งขัน ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับตัวละครในคอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์สามารถคิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่อง เพราะไม่เหมือนการสู้กับคนที่คิดเป็น และพูดคุยโต้ตอบได้ จึงมีการสร้างเกมส์ และบริการ ที่ทำให้ผู้ใช้ต่อสู้กัน หรือร่วมกันสู้ โดยจ่ายค่าลงทะเบียน เพื่อขอรหัสผู้ใช้เข้าเครื่องบริการ เพื่อการติดต่อสื่อสาร หรือทำภารกิจกับเพื่อนร่วมรบ ที่มีจุดมุ่งหมาย หรือชื่นชอบในเรื่องเดียวกัน เป็นบริการเพื่อความบันเทิงที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วในโลกอินเทอร์เน็ตและในอนาคต ผู้ที่เคยติดเกมจะได้เรียนรู้ว่า เขาน่าจะทำกิจกรรมอื่นมากกว่าติดเกม+ asiasoft.co.thsiamcomic.combarbie.comferryhalim.comthaiall.com/games

11. Software Updating
มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม หรือระบบปฏิบัติการอย่าง Microsoft ก็ยอมให้ผู้ใช้สามารถเข้ามา Download ข้อมูลไปปรับปรุงให้ทันสมัย เพื่อใช้ต่อสู้ไวรัสตัวใหม่ หรือแก้ไขจุดบกพร่องที่พบในภายหลัง ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update โปรแกรมจะทำหน้าที่เชื่อมต่อกับเว็บไซต์ของตน และทำงานเองจนการ update สมบูรณ์+ clamwin.com แนะนำโดย thaiopensource.org+ antivir.combitdefender.com

12. Palm หรือ PocketPC
Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาเรื่อยมา จนถึงปัจจุบันคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันทีPalm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เมื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ (palm.com)
PocketPC คืออะไรผลจากปี 1998 เมื่อ Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPCคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้

13. WAP (Wireless Application Protocal)
WAP เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บเพจที่พัฒนาเพื่อโทรศัพท์มือถือตามมาตรฐาน WAP โดยเฉพาะ เช่น wopwap.com, wap.siam2you.com, wap.a-roi.com, wap.mweb.co.th รุ่นของโทรศัพท์ในยุคแรกที่ให้บริการ WAP เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้นปัจจุบันเราไม่จำเป็นต้องเข้า Wap Website แต่เข้าเว็บไซต์โดยตรงผ่านบริการ GPRS (General Packet Radio Service) ใน GSM Mobile Phone [wikipedia.org]

ประวัติความเป็นมา อินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน ตามโครงการของอาร์ป้าเน็ต (ARPAnet = Advanced Research Projects Agency Network) เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ (U.S.Department of Defense – DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมาค.ศ.1969(พ.ศ.2512) อาร์ป้าเน็ตได้รับทุนสนันสนุนจากหลายฝ่าย และเปลี่ยนชื่อเป็นดาป้าเน็ต (DARPANET = Defense Advanced Research Projects Agency Network) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบาย และได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิดจาก 4 เครือข่ายเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ 1)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลองแองเจอลิส 2)สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด 3)มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานตาบาบาร่า และ4)มหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่งดาป้าเน็ตได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency – ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในอินเทอร์เน็ต, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัครทั้งสิ้นค.ศ.1983(พ.ศ.2526) ดาป้าเน็ตตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ จึงเป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาจนถึงปัจจุบัน เพราะ TCP/IP เป็นข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในโลกสื่อสารด้วยความเข้าใจบนมาตรฐานเดียวกันค.ศ.1980(พ.ศ.2523) ดาป้าเน็ตได้มอบหน้าที่รับผิดชอบการดูแลระบบอินเทอร์เน็ตให้มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation – NSF) ร่วมกับอีกหลายหน่วยงานค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เริ่มใช้การกำหนดโดเมนเนม (Domain Name) เป็นการสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution Database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บไซต์ http://www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ในเครื่องบริการโดเมนเนมหรือไม่ ถ้ามีก็จะตอบกับมาเป็นหมายเลขไอพี ถ้าไม่มีก็จะค้นหาจากเครื่องบริการโดเมนเนมที่ทำหน้าที่แปลชื่ออื่น สำหรับชื่อที่ลงท้ายด้วย .th มีเครื่องบริการที่ thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของโดเมนเนมที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมดค.ศ.1991(พ.ศ.2534) ทิม เบอร์เนอร์ส ลี (Tim Berners-Lee) แห่งศูนย์วิจัย CERN ได้คิดค้นระบบไฮเปอร์เท็กซ์ขึ้น สามารถเปิดด้วย เว็บเบราวเซอร์ (Web Browser) ตัวแรกมีชื่อว่า WWW (World Wide Web) แต่เว็บไซต์ได้รับความนิยมอย่างจริงจัง เมื่อศูนย์วิจัย NCSA ของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์เออร์แบน่าแชมเปญจ์ สหรัฐอเมริกา ได้คิดโปรแกรม MOSAIC (โมเสค) โดย Marc Andreessen ซึ่งเป็นเว็บเบราว์เซอร์ระบบกราฟฟิก หลังจากนั้นทีมงานที่ทำโมเสคก็ได้ออกไปเปิดบริษัทเน็ตสเคป (Browser Timelines: Lynx 1993, Mosaic 1993, Netscape 1994, Opera 1994, IE 1995, Mac IE 1996, Mozilla 1999, Chimera 2002, Phoenix 2002, Camino 2003, Firebird 2003, Safari 2003, MyIE2 2003, Maxthon 2003, Firefox 2004, Seamonkey 2005, Netsurf 2007, Chrome 2008)ในความเป็นจริงไม่มีใครเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ต และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ ผู้ติดสิน ผู้เสนอ ผู้ทดสอบ ผู้กำหนดมาตรฐานก็คือผู้ใช้ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ก่อนประกาศเป็นมาตรฐานต้องมีการทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้นก่อน ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain Name ก็จะยึดตามนั้นต่อไป เพราะอินเทอร์เน็ตเป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลพื้นฐานอาจต้องใช้เวลา